แผลเรื้อรัง . . . ยิ่งปล่อยนานยิ่งอันตราย




บาดแผลมีทั้งแผลเรื้อรัง และแผลเฉียบพลัน สำหรับแผลเฉียบพลันจะหายได้เร็ว ใช้เวลารักษาไม่นาน แต่สำหรับบาดแผลเรื้อรังจะหายช้าและใช้เวลาในการรักษานานกว่า แน่นอนว่าเป็นใครก็ย่อมเกิดความกังวล หากเป็นแผลแล้วรักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายสักที ซึ่งทางที่ดีนอกจากพบแพทย์แล้ว ต้องหมั่นสังเกตและพยายามดูแลแผลเรื้อรังนั้นให้ดีเพื่อไม่ให้ลุกลามเป็นอันตรายต่อไปอีกด้วย
แผลเฉียบพลัน VS แผลเรื้อรัง
-
แผลเฉียบพลัน (Acute Wounds) คือ แผลที่เพิ่งเกิดขึ้น แผลสด บาดแผลจะหายเร็ว
-
แผลเรื้อรัง คือ บาดแผลที่ไม่สามารถดำเนินตามขบวนการหายของแผลตามปกติ แผลจะอยู่ในภาวะมีการอักเสบ แต่ไม่มีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ เรียกว่า แผลเรื้อรัง (Chronic Wounds) รักษาแล้วไม่หายภายใน 4 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น
กระบวนการหายของแผล
กระบวนการหายของแผลเรื้อรังต่างจากแผลเฉียบพลัน เช่น หกล้ม ถลอก โดนมีดบาด กระบวนการหายจะเรียบง่าย
กระบวนการหายของแผลเฉียบพลันแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
-
ระยะที่ 1 ห้ามเลือดให้เลือดหยุด 1 – 3 วัน
-
ระยะที่ 2 ระยะของการอักเสบไม่เกิน 1 สัปดาห์
-
ระยะที่ 3 ระยะเสริมสร้างเนื้อเยื่อ 2 – 3 สัปดาห์
-
ระยะที่ 4 ระยะปรับสภาพจะอยู่เป็นปี
สำหรับแผลเรื้อรังในกระบวนการหายของแผลจะอยู่ในช่วงระยะที่ 2 คือ ระยะของการอักเสบแล้วไม่เกิดระยะเสริมสร้างเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อใหม่ไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการรักษาแผลเรื้อรังจึงยากกว่าแผลเฉียบพลัน ต้องแก้ไขให้ก้าวผ่านระยะที่เป็นแผลอักเสบไปสู่ระยะเสริมสร้างเนื้อเยื่อ และทำให้แผลหายต่อไป
สาเหตุที่พบบ่อยของแผลเรื้อรัง
-
แผลเบาหวาน โดยเฉพาะแผลที่เท้า
-
แผลกดทับ
-
แผลจากหลอดเลือดดำเสื่อม และหลอดเลือดแดงตีบตัน
-
แผลจากอุบัติเหตุ ที่ได้รับการดูแลไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก
การดูแลรักษาแผลเรื้อรัง
1. การรักษาความสะอาดของแผล อาจจะต้องทำความสะอาดแผลเป็นประจำทุกวัน และควรหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำหรือโดนสิ่งสกปรก เพราะจะทำให้แผลอักเสบติดเชื้อทำให้เกิดอันตรายตามมาได้
2. สังเกตความผิดปกติของแผล เช่น ถ้าแผลนั้นมีอาการปวด บวม สีผิวเปลี่ยนแปลง มีหนอง ควรรีบไปพบแพทย์จะดีที่สุด อย่าปล่อยทิ้งไว้
3. ตรวจร่างกายเป้นประจำ เพื่อจะได้ทราบว่าเรามีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่ เช่น หากเป็นโรคเบาหวาน ก็ควรระวังการเกิดแผล เพราะหากเป็นแผลแล้วจะมีโอกาสเป็นแผลเรื้อรังรักษาหายได้ยากมากกว่า
4. หากเป็นแผลแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะหากมัวรักษาเอง หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แผลนั้นอาจเกิดการติดเชื้อแล้วลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งหากรักษาไม่ทันก็มีโอกาสเสียชีวิตได้
5. ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คนที่มีแผลเรื้อรังควรรับประทานโปรตีนเป็นพิเศษ เพราะเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการสร้างเนื่อเยื่อ และลดโอกาสการติดเชื้ออีกด้วย
6. ไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเครียด เพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลกระทบต่อการหายของแผล ทำให้การสร้างเนื้อเยื่อไม่ดีและทำให้เป็นแผลเรื้อรังนั่นเอง
7. งดสูบบุหรี่ เพราะนอกจากจะส่งผลเสียต่อปอดแล้ว การสูบบุหรี่ยังทำให้เม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนไปสู่เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่แผลลดน้อยลง ทำให้มีการรวมตัวของเกล็ดเลือดมากกว่าผิดปกติจนทำให้เลือดแข็งจนไหลเวียนไม่ดี และทำให้แผลได้รับสารอาหารไปหล่อเลี้ยงน้อยลง จนเป็นสาเหตุให้แผลหายช้ากว่าปกติ

บทความจาก คุณหมอกฤษดา โดย ทีมข่าวอมรินทร์ทีวี




การรักษาแผลเรื้อรัง Kowit Clinic By Dr.Krit
-------------------- เคสคนไข้แผลเรื้อรัง นาน 4 ปี รักษาไม่หาย --------------------
แผลเรื้อรังก่อนการรักษา

แผลเรื้อรังหลังการรักษา 1 วัน

แผลเรื้อรังหลังการรักษา 3 วัน

แผลเรื้อรังหลังการรักษา 1 สัปดาห์


แผลเรื้อรังหลังการรักษา 2 เดือน

