รอยโรคต่าง ๆ บนผิวหนัง
ลักษณะรอยโรค (Morphology)
การตรวจทางผิวหนังจำเป็นต้องทราบลักษณะของรอยโรคเนื่องจากความสำคัญในการวินิจฉัยแยกโรค ขึ้นอยู่กับรอยโรคที่ตรวจพบ โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
-
รอยโรคปฐมภูมิ (Primary skin lesion)
-
รอยโรคทุติยภูมิ (Secondary skin lesion)
รอยโรคแต่ละลักษณะสามารถแยกได้ตามสภาพของพื้นผิวที่ตรวจพบ ขนาดของรอยโรค หรือลักษณะที่จำเพาะ
รอยโรคปฐมภูมิ (Primary skin lesion)
คือ ลักษณะเริ่มต้นของรอยโรคที่เกิดขึ้น รอยโรคเริ่มต้นที่ยังไม่ผ่านการแกะเกาขยี้ถูใด ๆ ซึ่งแบ่งได้ตามพื้นผิว เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
-
รอยโรคแบนราบ (Flat lesion) ไม่สามารถคลำได้ ได้แก่ จุด (macule), ผื่นราบ (patch)
-
รอยโรคนูน (Raised lesion) สามารถคลำได้ ได้แก่ ตุ่ม (papule), ปื้นหนา (plaque), ก้อนนูน (nodule), ถุงน้ำ (cyst), ปื้นนูนแดง (wheal)
-
รอยโรคตุ่มน้ำ (Fluid-filled lesion) มีของเหลวในรอยโรคอาจเป็นตุ่มน้ำ หรือหนอง ได้แก่ ตุ่มน้ำใสเล็ก (vesicle), ตุ่มน้ำใสใหญ่ (bulla), ตุ่มหนอง (pustule), ฝี (abscess)
รอยโรคทุติยภูมิ (Secondary skin lesion)
คือ ลักษณะรอยโรคที่เกิดขึ้นตามหลังรอยโรคแรก โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากระยะเวลาของรอยโรค หรือ การแกะเกา หรือ การรักษาที่ได้มาก่อน แบ่งได้ตามพื้นผิว เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
-
รอยโรคพื้นผิวขรุขระ (Surface changed lesion) ได้แก่ สะเก็ด (scale), คราบ (crust), เกาขีดข่วน (excoriation), ผิวหนานูนเห็นเส้นผิวหนังชัดขึ้น (lichenification)
-
รอยโรคยุบตัว (Depressed lesion) ได้แก่ ถลอกตื้น ๆ (erosion), แผลลึก (ulcer), หนังกำพร้าบาง เป็นรอยย่น (atrophy), รอยแตกเป็นเส้นตรง เจ็บ ผลจากผิวหนังแห้ง หนา (fissure), ไซนัส (sinus)
-
รอยโรคนูน (Raised lesion) ได้แก่ แผลเป็น (scar)
รูปร่างของรอยโรค (Shape)
ในกรณีที่รอยโรคแต่ละรอยโรคมีรูปร่างที่จำเพาะ การตรวจพบสามารถช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคได้ แม่นยำมากขึ้น
ภาพตัวอย่าง
คำจำกัดความ
วินิฉัยโรค
รอยโรคกลมเหมือนเหรียญ (coin-shaped)
โรคผื่นรูปเหรียญ เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง พบในผู้ที่มีผิวแห้ง หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศแห้ง ผื่นมีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายเหรียญบาท แดง หนา และคัน ผิวเป็นขุย หรือมีน้ำเหลืองซึม
รอยโรคกลมนูนที่ขอบ (ring-shaped)
โรคกลาก เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง อาจจะเกิดจากเชื้อราที่ผิวหนังซึ่งมักจะมีอาการคัน แดง ระคายเคืองรอบวงกลาก และสามารถมองเห็นขอบได้ชัดเจนว่ามีสีแดงกว่าบริเวณผิวหนังปกติ แต่ตรงกลางของวงจะปรากฏในลักษณะผิวหนังสีปกติ
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
ผื่นเล็ก ๆ ที่ขึ้นตามผิวหนังบริเวณศอก เข่า แขน ขา ศีรษะ เป็นผื่นจากโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย โดยจะมีลักษณะเป็นผื่นสีแดงมีขอบชัด บนผื่นจะมีขุยสีขาว คล้ายมีสะเก็ดสีขาวเหมือนเงินปกคลุมอยู่
โรคลมพิษ หรือ ผื่นลมพิษ (Urticaria)
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เมื่อร่างกายมี
ปฎิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ ร่างกายปล่อยสาร "ฮีสตามีน (Histamine)" และสารอื่น ๆ เข้าสู่กระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว มีพลาสมา หรือน้ำเลือดซึมออกมาในผิวหนัง จนทำให้เกิดผื่นนูนแดงที่ผิวหนัง
โรคเซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis
หน้าแดงมันมีขุย ศีรษะมีรังแค โรคผื่นแพ้ต่อมน้ำมัน โรคผื่น ผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน
เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบบ่อยอาจเกิดจากโรคเซ็บเดิร์ม
สาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัด อาจเกิดจากเชื้อรา Pityrosporum ovale ,เชื้อยีสต์ Malassezia furfur ฮอร์โมน ในร่างกายเกิดกาเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจน
ความผิดปกติของระบบประสาท ทำให้ต่อมไขมันผลิตไขมันออกมามากขึ้น
- ความเครียด
- พันธุกรรม
- การตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน
- ปัจจัยภายนอก