top of page

การใช้ซิลิโคนที่ดี ลดปัญหา ซิลิโคนรั่ว  นมแข็งผิดรูป ในอนาคตได้

 

เลือกขนาดอย่างไร

ก่อนผ่าตัดแพทย์ จะให้คำแนะนำในการเลือกขนาดซิลิโคนว่าต้องการขนาดใหญ่เท่าไหร่ (กี่ cc)  แล้วแต่ความต้องการให้หน้าอกใหญ่ขึ้น

การเลือกขนาดต้องคำนึงถึง

  1. เนื้อนมเดิม ว่ามี มากพอที่จะรองรับซิลิโคนได้หรือไม่ ถ้าเนื้อนมน้อยแต่ใส่ซิลิโคนใหญ่ ก็จะคลำขอบซิลิโคนได้ ทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ

  2. ความกว้างของช่วงไหล่ สัดส่วนความสูง

  3. ความยืดหยุ่นของเนื้อนมเดิม

  4. ความต้องการของคนไข้ ว่าอยากได้ขนาดใหญ่แค่ไหน

เสริมใต้กล้ามเนื้อ หรือ ใต้เนื้อนม?

การจะวางซิลิโคน ใต้กล้ามเนื้อ หรือ บนกล้ามเนื้อ (ในเนื้อนม) จำเป็นต้องพิจารณาการหย่อนคล้อยของหน้าอกเป็นเกณฑ์ในการวางแผนการวางตำแหน่งของซิลิโคน หากหน้าอกไม่มีการหย่อนคล้อยหรือหย่อนคล้อยไม่มาก ก็สามารถเสริมโดยวางใต้กล้ามเนื้อได้ แต่ถ้าหากมีการหย่อนคล้อยพอสมควรก็จำเป็นต้องวางบนกล้ามเนื้อ(ในเนื้อนม) แต่ถ้าหากมีการหย่อนคล้อยมาก ก็จำเป็นจะต้องแก้ไขโดยการผ่าตัดยกกระชับหน้าอก และเสริมด้วยซิลิโคนถ้าหากต้องการขนาดหน้าอกที่ใหญ่ขึ้น

การใส่ใต้กล้ามเนื้อ (submuscular ) ดีกว่าใส่ใต้เนื้อนมตรงที่มีโอกาสนมแข็ง หรือ ที่เรียกกันว่า มีแคปซูล (capsular contracture) น้อยกว่า และ มีโอกาสที่จะคลำเจอขอบซิลิโคนน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เนื้อนมน้อย

แต่ข้อเสียคือ หลังทำเจ็บกว่า  จับแล้วนิ่มน้อยกว่าการวางบนกล้ามเนื้อ  บางคนชอบออกกำลังกาย จะเห็นเต้านมขยับ ได้ เวลายกแขน เกร็งกล้ามเนื้อหน้าอก

ส่วนการใส่ซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ หรือใต้เนื้อนม (subglandular) จะมีข้อดีคือจะได้นมที่นิ่มกว่า  หลังผ่าตัดเจ็บน้อยกว่า พักฟื้นสั้นกว่า

 

แผลผ่าตัด ตรงที่ไหนดี

1.ใต้ราวนม

แผลหลบอยู่ใต้ราวนม ด้านข้าง ยาวประมาณ 3-4 cm มองไม่เห็นแม้เวลานอน ถ้ามองตรงๆ แผลใต้ราวนมนี้ คนที่เห็นก็มีเพียงคนใกล้ชิดเราเท่านั้น ไปไหนมาไหน ก็ไม่ต้องระวังเวลาใส่เสื้อแขนกุด การผ่าตัดทำได้เร็วกว่า จัดรูปทรงได้ง่ายกว่า เจ็บน้อยกว่าผ่าจากบริเวณรักแร้

แต่ก็มีข้อเสียคือ อาจมีแผลเป็นนูนได้มากกว่าผ่าบริเวณอื่น

2. บริเวณรักแร้

ข้อดีคือ แผลไม่ได้อยู่บริเวณนมให้รู้สึกมั่นใจ 

ข้อเสียคือ หลังทำเจ็บกว่าแผลใต้ราวนม ขนาดของแผลที่ใหญ่กว่าใต้ราวนม  และนอกจากนี้ อัตรการเกิดพังผืดมักจะมากกว่า ผ่าทางใต้ราวนม

 

หลังเสริมเต้านม ให้นมลูกได้หรือไม่

หลังเสริมเต้านมสามารถ ตั้งครรภ์ได้ ให้นมลูกได้ โดยไม่มีอันตรายต่อเด็ก เนื่องจากซิลิโคนที่มีมาตรฐาน จะไม่มีการรั่วออกมาแล้วแทรกซึมเข้าสู่น้ำนมได้

 

การเสริมเต้านม ทำให้เป็นมะเร็งหรือ ไม่

การใช้ซิลิโคนเต้านมที่มาตราฐาน ไม่เพิ่ม โอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม ชนิดที่พบบ่อยที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ที่ เสริมเต้านม ก็ไม่ควรละเลยในการตรวจเช็คมะเร็งเต้านม เป็นประจำ ควรทำคลำตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน หลังหมดประจำเดือน 1 สัปดาห์ และทำ การเอกซ์เรย์ แมมโมแกรม (Mammogram) ทุกปี เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี

แผลผ่าตัดเสริมหน้าอกใต้ราวนมและทางรักแร้
bottom of page